แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
ขอเชิญเที่ยวงาน

  

พระพรหมบัณฑิต
(ป.ธ.๙,ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต)
กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
(ICDV)
ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


          พระพรหมบัณฑิต  ฉายา  ธมฺมจิตฺโต นามเดิม ประยูร นามสกุล  มีฤกษ์  วิทยฐานะ  ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A., M.Phil., Ph.D.,  เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน   พ.ศ. ๒๔๙๘  ณ ตำบลโพธิ์พระยา  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี   จังหวัดสุพรรณบุรี

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ 
     - เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร
     - กรรมการมหาเถรสมาคม
     - ศาสตราจารย์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     - ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา
     - ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
     - ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)
     - ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
     - ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
     - อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 บรรพชาอุปสมบท
     บรรพชาเป็นสามเณร
          วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ณ วัดสามจุ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
          มี พระครูศรีคณานุรักษ์ วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์

     อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
          เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
          มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ 
             พระธรรมปิฎก (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ต่อมาเป็นที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์)
             วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
             พระธรรมธีรราชมหามุนี (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์)
             วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วุฒิการศึกษา
พ.ศ.๒๕๑๒
       สอบได้ น.ธ.เอก
       สำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี 
พ.ศ.๒๕๑๓
       สอบได้ ป.ธ. ๓
       สำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี 
พ.ศ.๒๕๑๙             
       สอบได้ ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร)
       สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร 
พ.ศ. ๒๕๒๐
       สอบได้ประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๒๑
       ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา
       จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๓
       ปริญญาโท สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University of Delhi) อินเดีย
พ.ศ. ๒๕๒๕
       เตรียมปริญญาเอก (M.Phil.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University of  Delhi) 
พ.ศ. ๒๕๒๗
       ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยลัยเดลี
       (University  of  Delhi) 
พ.ศ. ๒๕๒๙
       ปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยลัยเดลี (University  of  Delhi)
     
ตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ 
พ.ศ. ๒๕๓๐
       เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๑ 
       เป็นประธานองค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 
พ.ศ. ๒๕๓๓
       เป็นเจ้าคณะ ๙ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 
พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน
       เป็นเจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
       จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี 
พ.ศ. ๒๕๔๒
       ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์  
พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน      
       ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. ๒๕๔๘
     - ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวรวิหาร                     
       เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๔๘
     - ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 
       เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๕๔
       ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม  
        เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๙
      
ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์
        ลงนามคำสั่งมหาเถรสมาคมที่ ๒/๒๕๕๙
        เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๕ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๑
        ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเป็นประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์
        แห่งคณะสงฆ์ไทย  ลงนามคำสั่งมหาเถรสมาคมที่ ๑/๒๕๖๑
        เมื่อวันจันทร์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ [คลิกอ่าน]
 
ตำแหน่งบริหารในมหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๒

       เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ 
พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๖ 
       เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย 
พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๕     
       เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน
พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๐ 
       เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน     
       เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๖ 
       ได้รับพระบรมราชโองการโปรด แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา
       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย     
             
การบริหารงานคณะสงฆ์ในวัดและในภาค
          ในฐานะเจ้าสำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้จัดการศึกษาแผนกธรรมศึกษาจนสำนักเรียนได้รับการจัดอันดับจากแม่กองธรรมสนามหลวงให้ติดอันดับท็อปเทนคือหนึ่งในสิบของสำนักเรียนที่มีผู้สอบธรรมศึกษาได้จำนวนมาก
          ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถทุกวันพระขึ้น-แรม ๑๕ ค่ำเป็นประจำและได้ดำเนินการจัดอบรมพระนักเทศน์ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาทุกปี ปัจจุบันจัดอบรมไปแล้วจำนวน ๒๐ รุ่น มีผู้จบการอบรมตามหลักสูตรแล้วกว่า ๕,๐๐๐ รูป จนสำนักวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์อบรมพระนักเทศน์ประจำกรุงเทพมหานคร
          ได้พัฒนาพระวิปัสสนาจารย์และส่งเสริมการปฏิบัติธรรมภายในวัดจนกระทั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศยกย่องวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
          ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัด ใช้งบประมาณกว่า ๓๐ ล้านบาท จนกระทั่งวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสนอโดยสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔
          ขณะดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์อยู่นั้น ได้ปีนขึ้นสำรวจองค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์สูง ๖๐ เมตรด้วยตนเองและได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ พระบูชาและพระพิมพ์จำนวนมาก จึงได้นำลงมาเก็บไว้ในหอพรินทรปริยัติธรรมศาลาซึ่งบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้วยงบบริจาคกว่า ๕ ล้านบาท และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมีชื่อว่าประยูรภัณฑาคาร
          นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารและปรับภูมิทัศน์หน้าวัดด้านท่าเรือสิ้นเงิน ๒๔ ล้านบาท และสร้างกุฏิเตชะไกรศรี สิ้นเงิน ๑๐ ล้านบาท
          ปัจจุบัน กำลังดำเนินการบูรณะเขามอด้วยงบประมาณ ๓๐ ล้านบาทโดยการอุปถัมภ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
          ในฐานะเป็นเจ้าคณะภาค ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน นอกจากจะบริหารกิจการคณะสงฆ์ในภาคให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยแล้วยังเป็นประธานอำนวยการการจัดอบรมบาลีก่อนสอบในภาค ๒ ตั้งแต่ชั้นประโยค ป.ธ.๑-๒ ถึง ป.ธ.๕ ณ วัดต้นสน อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ รูป
 
การบริหารงานในฐานะอธิการบดี
          ได้ดำเนินการให้มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระจายอยู่ภายในประเทศกว่า ๔๐ จังหวัด คือมีวิทยาเขต ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๙ แห่ง ห้องเรียน ๘ แห่ง หน่วยวิทยบริการ ๑๘ แห่ง และมีสถาบันสมทบอยู่ในต่างประเทศ  ๕ แห่ง คือไต้หวัน เกาหลีใต้ ศรีลังกา สิงคโปร์ และฮังการี ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีนิสิตระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอกจำนวนกว่า ๒๐,๐๐๐ รูป/คน
          ในฐานะอธิการบดี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน โดยจัดหาที่ดินที่ได้จากการบริจาคและการซื้อเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น ๓๒๓ ไร่ และได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ ดังนี้
          ๑. อาคารสำนักงานอธิการบดี
          ๒. อาคารหอสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ 
          ๓. อาคารหอฉัน ๗๒ พรรษาพระวิสุทธาธิบดี  
          ๔. อาคารรับรองอาคันตุกะ ๙๒ ปี ปัญญานันทะ
          ๕. อาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก   
          ๖. อาคารเรียนรวม 
          ๗. อาคารมหาจุฬาบรรณาคาร ๑๕๐ ปี สมเด็จพระปิยมหาราช   
          ๘. อาคารหอพักนิสิต  
          ๙. อุโบสถกลางน้ำ 
         ๑๐. หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
         ๑๑. หอวิปัสสนาภาวนา         
         ๑๒. วัดมหาจุฬาลงกรณวราราม (กำลังดำเนินการ)
         ๑๓. วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (กำลังดำเนินการ)
         ๑๔. เรือนทรงไทย ๖๐ ปี พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

         รวมงบประมาณการก่อสร้างที่ดำเนินการไปแล้วกว่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท
                สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯทรงประกอบพิธีเปิดที่ทำการของมหาวิทยาลัย
                แห่งใหม่นี้ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
 
ผลงานบริหารในระดับนานาชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๑
       ลงนามในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยใน
       กำกับของรัฐ ประเทศไทย 
พ.ศ. ๒๕๔๕       
     - ลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
       วิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยหนานฮวา เมืองเจียอี้ ไต้หวัน        
     - ดำเนินการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณแห่งโลก ครั้งที่ ๑ ณ
       ประเทศไทย โดยการเป็นเจ้าภาพร่วมกับที่ประชุมสุดยอดผู้นำศาสนาและจิต
       วิญญาณแห่งโลก และองค์การสหประชาชาติ ในประเทศไทย (UN ESCAP)
พ.ศ. ๒๕๔๗      
       ลงนามในความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
       วิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กรุงปักกิ่ง
       ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 
พ.ศ. ๒๕๔๗        
     - เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมกรรมการสภาผู้นำศาสนาโลก ณ มหาวิทยาลัย
       มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร       
     - เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมเยาวชนเพื่อสันติภาพโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล
       และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ  กรุงเทพมหานคร
     - เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมผู้นำชาวพุทธ ในกิจกรรมวันวิสาขบูชา
       วันสำคัญสากล สหประชาชาติ ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ
       กรุงเทพมหานคร        
     - เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติว่าด้วยพระพุทธเถรวาทและมหายาน 
       ณ หอประชุมพุทธมณฑล และศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
       สมเด็จพระบรมโอสราธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดการประชุม       
     - เป็นประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
       ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในนามประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๘        
       เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา
       วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ณ หอประชุมพุทธมณฑล
       จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  กรุงเทพมหานคร ในท้ายของการประชุมครั้งนี้ ผู้นำชาวพุทธ
       ทั่วโลก ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
พ.ศ. ๒๕๔๙
       เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา
       วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๗-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
       และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๐
     - เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา
       วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ 
       ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
     - ได้รับเลือกเป็นประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก
       (International Council of the United Nations Day of Vesak)
     - ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
       (International Association of Buddhist Universities) ซึ่งมีสมาชิกกว่า ๑๐๐ มหาวิทยาลัยทั่วโลก
       และสมาคมได้เลือกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสมาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑      
     - เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา
       วันสำคัญสากลของโลก ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ 
       ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
     - เป็นประธานดำเนินการจัดประชุมสุดยอดอธิการบดีของสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)
       ระหว่างวันที่ ๑๓–๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
       ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๕๕๒
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
       และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 
พ.ศ. ๒๕๕๓
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
       และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๔
     - เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชาโลก
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
       และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
     - ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยฮานาโซโน่ ประเทศญี่ปุ่น และมูลนิธิหมู่บ้านพลัม
       ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๕ ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี
       แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
       ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๖
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๖
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา
       ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๘
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๘
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา
       ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๕๙
       เป็นประธานกรรมการจัดกิจกรรมนานาชาติวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๙
       ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครอยุธยา
       ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
      
 
ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๑
       แสดงปาฐกถาเรื่อง "พุทธวิธีสร้างสันติภาพ" (A Buddhist Approach to Peace)
       ในที่ประชุมใหญ่องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๓๓
       แสดงปาฐกถาเรื่อง "เอกภาพในความหลากหลาย" (Unity in Diversity)
       ในที่ประชุมใหญ่องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
       เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
พ.ศ. ๒๕๓๖
       แสดงปาฐกถาเรื่อง "จริยธรรมสากลของพระพุทธศาสนา" (Universal Morality of Buddhism)
       ในการสัมมนานานาชาติ จัดโดยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
       เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
พ.ศ. ๒๕๓๗
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง "พุทธจริยธรรมกับภาวะผู้นำ" (Buddhist Ethics of Leadership)
       ในที่ประชุมนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ว่าด้วยจริยธรรมกับการบริการประชาชน เมื่อวันที่
       ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง "พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน" (Buddhism and Sustainable Development)
       ในที่ประชุมผู้นำทางศาสนา เนื่องในการประชุมใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ เรื่อง ประชากรกับการพัฒนา 
       เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗ ณ กรุงไคโร  ประเทศอียิปต์
     - แสดงปาฐกถา เรื่อง "ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา" (Prominent Facets of Buddhism)
       ในการที่มหาเถรสมาคมมอบให้เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทยเข้าประชุมใหญ่
       ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๑๙
       เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๗ ณ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑
       แสดงปาฐกถาเรื่อง "พุทธทัศนะเรื่องจัดการศึกษาเพื่อความสมดุล" (Educating for Balance: A Buddhist
       Perspective) ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙ ของสภาหลักสูตร และการสอนแห่งโลก (World Council for
       Curriculum and Instruction) เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ที่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๓
       บรรยายเรื่อง "พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง" (A Buddhist View on Conflict Resolution) 
       ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลกในยุคสหัสวรรษ
       (The Millennium World Peace Summit of Religious and Spiritual Leaders)
       เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ณ องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.๒๕๔๖
       แสดงปาฐกถาเรื่อง “Buddhism in Contemporary Thailand”
       (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน) ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา
       และเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมฉลอง ๒๕๐ ปี สยามนิกาย ณ เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา
พ.ศ.๒๕๔๗      
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง "การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก"
       (Buddhist Propagation for World Peace) ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ
       เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๒ (The Second World Buddhist
       Propagation Conference (Buddhist Summit) เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗
       ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
     - เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ไทย บรรยายเรื่อง International Recognition of the Day of Vesak
       (วิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ) ในกิจกรรมวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากล สหประชาชาติ
       ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๘
       บรรยายเรื่อง “Moral Dimension of Education for Peace
       (มุมมองด้านศีลธรรมในการศึกษาเพื่อสันติภาพ)” ในการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วโลก
       ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พ.ศ. ๒๕๔๙
     - ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “A General View On Vinaya” ในการประชุมวิชาการพุทธศาสนานานาชาติ
       ณ มหาวิทยาลัยซินเจีย ณ ไทเป  สาธารณรัฐประชาชนจีน (ไต้หวัน)
       วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง “Theravada Buddhism in The West (พุทธศาสนาเถรวาทในตะวันตก”)
       ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพมหานคร
       วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง “Engaged Buddhism in the 21st Century
       (พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในศตวรรษที่ ๒๑)” ณ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ประเทศเวียดนาม
       เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๐
       แสดงปาฐกถาเรื่อง “A Buddhist Approach to Consciousness (พุทธทัศนะเรื่องจิต)”
       ในการประชุมวิชาการนานาชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม 
       เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พ.ศ. ๒๕๕๑
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง “Well-Being A Buddhist Perspective(สุขภาพในมุมมองของพระพุทธศาสนา) ”
       ในการประชุมวิชาการสมาคมจิตวิทยานานาชาติ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง “Roles of Buddhist Universities (บทบาทของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา)” 
       ณ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เมืองสะกาย ประเทศเมียนม่าร์
       เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
     - แสดงปาฐกถาเรื่อง “Buddhist Contribution to Building a Peaceful Society 
       (คุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อการสร้างสังคมแห่งสันติภาพ)”
       ในการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ เมืองโฮจิมิน
       ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๒
       เป็นวิทยากรในการประชุมผู้นำศาสนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
       (COP15–Climate Change Conference) ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
       ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
พ.ศ. ๒๕๕๓
     - เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในการสัมมนาพระพุทธศาสนาเถรวาทไทยและมหายานจีน
       เรื่อง ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเมืองเพื่อโลกที่ดีได้ ณ วัดพระหยก นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณประชาชนจีน
       ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๓
     - เป็นวิทยากรในการประชุมผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก ณ มหาวิทยาลัยดองกุก กรุงโซล
       ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ ๑๐–๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
     - เป็นผู้แทนประเทศไทยกล่าวสุนทรพจน์ ในพิธีวิสาขบูชาโลก ณ สำนักงานใหญ่องค์การ UNESCO
       ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔
     - เป็นวิทยากรบรรยายธรรมเนื่องในการเดินทางไปทำความร่วมมือทางการศึกษาพระพุทธศาสนา
        กับ คณะสงฆ์จีน ณ วิทยาลัยสงฆ์เมืองกวางโจว วิทยาลัยสงฆ์เมืองเซี่ยงไฮ้ วิทยาลัยสงฆ์เมืองหางโจว
       วิทยาลัยสงฆ์หมินหนาน เมืองเซี๊ยะเหมิน วิทยาลัยสงฆ์ กรุงปักกิ่ง และพุทธสมาคมจีน
       ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑-๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
     - เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม เดินทางไปร่วมประชุมศาสนาเพื่อสันติภาพ ณ นครวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี
       ระหว่าง ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๔
     - เป็นประธานสงฆ์เถรวาทกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดอุทยานธรรมปทีป ณ สารนาถเมืองพาราณสี
       ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์กรชาวพุทธนิกายเรียวยูไกนานาชาติ
       เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๕
       แสดงปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมของ World Sangha Council ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา
       เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
 

งานบรรยายธรรมภายในประเทศ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา เป็นวิทยากรบรรยายธรรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
     ๑.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
     ๒.สถาบันพระปกเกล้า
     ๓.กรมการศาสนา
     ๔.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
     ๕.มหาวิทยาลัยต่างๆ
     ๖.สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
     ๗.สำนักงาน ก.พ.
     ๘.สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ
     ๙.สถาบันพัฒนาข้าราชการอัยการ
     ๑๐.สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
     ๑๑.สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
     ๑๒.พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย 
     ๑๓.ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
     ๑๔.สมาคมส่งเสริมสุขภาพจิต
     ๑๕.สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
     ๑๖.กองอนุศาสนาจารย์
     ๑๗.การเคหะแห่งชาติ
     ๑๘.กรมการแพทย์
     ๑๙.กรมประกันภัย
     ๒๐.กรมศุลกากร
     ๒๑.สถาบันการต่างประเทศ
     ๒๒.กระทรวงการต่างประเทศ
     ๒๓.สภากาชาดไทย
     ๒๔.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
     ๒๕.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต    
     ๒๖.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
     ๒๗.การประปานครหลวง
     ๒๘.สำนักงบประมาณ
     ๒๙.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
     ๓๐.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ 
     ๓๑.กรมการปกครอง 
     ๓๒.สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 
     ๓๓.สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
     ๓๔.สภาวิจัยแห่งชาติ
     ๓๕.สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
     ๓๖.ราชบัณฑิตยสถาน
     ๓๗.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
     ๓๘.กรมสอบสวนคดีพิเศษ
     ๓๙.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
     ๔๐.บริษัทการบินไทย
     ๔๑.บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
     ๔๒.บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง 
     ๔๓.ธนาคารกรุงเทพ
     ๔๔.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
     ๔๕.บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
     ๔๖.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
     ๔๗.สำนักงานอัยการสูงสุด 
     ๔๘.ศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
     ๔๙.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕
     ๕๐.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗
     ๕๑.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๙ (NBT)
     ๕๒.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     ๕๓.โรงพยาบาลสุรินทร์ ณ ห้องประชุมกุญชรศุภศรี ชั้น ๙ อาคาร ๑๐๐ ปี
     ๕๔.คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     ๕๕.ธนาคารแห่งประเทศไทย
     ๕๖.ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
     ๕๗.คณะพยาบาลศาสตร์ ๓๖ ปี มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ชลบุรี
     ๕๘.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
     ๕๙.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
     ๖๐.บริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี้ จำกัด
     ๖๑.พุทธสถานลานปฏิบัติธรรม บ้านเมตตาธรรม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
     ๖๒.ศาลฎีกา อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์
     ๖๓. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัดมหาชน   เป็นต้น

          นอกจากนี้ ยังได้บรรยายธรรม และแสดงพระธรรมเทศนาทางสถานีวิทยุ และสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
พ.ศ. ๒๕๓๗

       แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง "สัปปุริสธัมมกถา" ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
       เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตมวาร ศพนายภาวาส บุนนาค ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรฯ
พ.ศ. ๒๕๓๙               
       แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "อิทธิบาทกถา" ในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย
       สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
 พ.ศ.๒๕๔๒
     - แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "บัณฑิตกถา" ในการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
       เสด็จฯ  ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานศพ พระมหารัชมังคลดิลก
       เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 
     - แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "โลกติกิจฉนกถา" ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ทรงพระราชอุทิศถวาย
       สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
       และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล  ณ  ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน
       จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
     - แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "ธรรมทานกถา" ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
       เสด็จฯ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุประทาน
       อุทิศถวาย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์     
     - แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง "สาธุนรธรรมกถา" ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
       เสด็จฯ ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
       ณ ศาลาเริง วังไกลกังวล หัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
     - แสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง “อานุภาพพระปริตร” เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
       เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
       เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานพิธีสวดมหาราชปริตรมอญ ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    
พ.ศ. ๒๕๕๓
       แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “โอวาทปาฏิโมกขกถา” เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
       เสด็จฯ ทรงสดับพระธรรมเทศนาเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดประยุรวงศาวาส
 
การบริการวิชาการแก่สังคม   
          ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ถึงปัจจุบัน ได้เป็นกรรมการในคณะต่างๆ ทั้งในส่วนงานคณะสงฆ์และหน่วยงานราชการ  เช่น เป็นประธานกรรมการอำนวยการโครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ประธานกรรมการกำหนดนโยบายและแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ประธานคณะทำงานของมหาเถรสมาคมในการยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ พ.ศ. ๒๕๔๕ ประธานกรรมการจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ ประธานอนุกรรมการจัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ประธานอนุกรรมการจัดอบรมครูสอนพระพุทธศาสนา ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  ประธานกรรมการจัดทำหนังสือเรียนพระพุทธศาสนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
          ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา ได้เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ และเป็นกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          นอกจากนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา ได้เป็นกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการของผู้ขอเลื่อนเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ
 
 งานด้านสาธารณสงเคราะห์
     - ผลงานด้านสาธารณสงเคราะห์ที่สำคัญได้แก่ การจัดส่งพระบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัย
       มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขึ้นดอยเพื่อสอนพระพุทธศาสนาและภาษาไทย
       พร้อมกับนำพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
       ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา
     - ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง
       และจังหวัดสระบุรี ได้นำสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา
     - ได้บริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ รวมทั้งได้จัดส่งพระนิสิตมหาวิทยาลัย
       มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปช่วยเหลือฟื้นฟูด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัยที่บ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา
       เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
     - ได้พาคณะไปให้ความช่วยเหลือบริจาคทรัพย์และสิ่งของแก่ผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กิส
       ที่ประเทศเมียนมาร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
     - เมื่อเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดตั้งศูนย์พักพิงช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
       ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
 
ผลงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่ 
พ.ศ. ๒๕๒๖    
     เล่มที่ ๑. เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์ [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๓๐    
     เล่มที่ ๒. พระพุทธประวัติ [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๓๑    
     เล่มที่ ๓. Sarte's Existentialism and Early Buddhism [CLICK]
พ.ศ. ๒๕๓๒    
     เล่มที่ ๔. A Buddhist  Approach  to  Peace (พุทธวิธีสร้างสันติภาพ) [คลิก/CLICK]     
     เล่มที่ ๕. ไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๓๓   
     เล่มที่ ๖. พุทธศาสนากับปรัชญา
     เล่มที่ ๗. ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย
     เล่มที่ ๘. ปรัชญากรีก [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๓๔   
     เล่มที่ ๙.  พัฒนาชีวิตด้วยแนวคิดเชิงคุณธรรม
     เล่มที่ ๑๐.พรใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
พ.ศ. ๒๕๓๕  
     เลมที่ ๑๑. ด้วยความหวังและกำลังใจ
     เล่มที่ ๑๒. กรรม การเวียนว่ายตายเกิด
     เล่มที่ ๑๓. ธรรมานุสรณ์วีรชนประชาธิปไตย
พ.ศ. ๒๕๓๖  
     เล่มที่ ๑๔. คุณธรรมสำหรับนักบริหาร
     เล่มที่ ๑๕. ทางแห่งความสำเร็จ
     เล่มที่ ๑๖. ปรัชญาแก้เซ็งและสร้างสุข
     เล่มที่ ๑๗. ทำความดีมีความสุข
     เล่มที่ ๑๘. ธรรมเพื่อชีวิตใหม่
     เล่มที่ ๑๙. มองสังคมไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗   
     เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๒๐. ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก (ฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่ ๘) [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๒๑. ความรักในหน้าที่
     เล่มที่ ๒๒. อภิธรรมาวตาร (ประธานคณะผู้ปริวรรต)
     เล่มที่ ๒๓. อยู่อย่างไรให้เป็นสุข
     เล่มที่ ๒๔. Buddhist Morality
พ.ศ. ๒๕๓๘   
     เล่มที่ ๒๕. สุขภาพใจ
     เล่มที่ ๒๖. สติในชีวิตประจำวัน
     เล่มที่ ๒๗. วิมุตติมรรค (ประธานคณะผู้แปล) [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๒๘. สร้างฝันให้เป็นจริง [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๒๙. ธรรมะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
     เล่มที่ ๓๐. จรรยาบรรณของข้าราชการ 
     เล่มที่ ๓๑. การควบคุมสัญชาตญาณ
พ.ศ. ๒๕๓๙    
     เล่มที่ ๓๒. มธุรตฺถปกาสินี นาม มิลินฺทปญฺหฏีกา (ประธานปริวรรต)
     เล่มที่ ๓๓. การบำเพ็ญและสร้างสมบารมี
     เล่มที่ ๓๔. พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์
     เล่มที่ ๓๕. ธรรมมงคลแห่งชีวิต
     เล่มที่ ๓๖. อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ ๓๖๕ วัน [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๓๗. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ประธานบรรณาธิการ)
พ.ศ. ๒๕๔๐    
     เล่มที่ ๓๘. มณีแห่งปัญญา
     เล่มที่ ๓๙. ขอบฟ้าแห่งความรู้ [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๔๑    
     เล่มที่ ๔๐. ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต
     เล่มที่ ๔๑. วิทยาศาสตร์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
     เล่มที่ ๔๒. Educating for Balance : A Buddhist Perspective (พุทธทัศนะ : การศึกษาเพื่อความสมดุล)
พ.ศ. ๒๕๔๒    
     เล่มที่ ๔๓. พระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
     เล่มที่ ๔๔. เพื่อน
     เล่มที่ ๔๕. การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๓    
     เล่มที่ ๔๖. จักรพรรดิธรรม
     เล่มที่ ๔๗. กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา
     เล่มที่ ๔๘. A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ) [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๔๕    
     เล่มที่ ๔๙. กรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๖    
     เล่มที่ ๕๐. พุทธธรรมเพื่อการพัฒนา
     เล่มที่ ๕๑. ทิศทางการศึกษาไทย
     เล่มที่ ๕๒. Buddhism in Contemporary Thailand (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน) 
     เล่มที่ ๕๓. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารกับราชนิกุลบุนนาค
พ.ศ. ๒๕๔๗    
     เล่มที่ ๕๔. International Recognition of the Day  of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ)
     เล่มที่ ๕๕. มหาราชนักปฏิรูป [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๕๖. พระพุทธศาสนา : การวิจัย
พ.ศ. ๒๕๔๘    
     เล่มที่ ๕๗. ธรรมรักษาใจสู้ภัยสึนามิ
     เล่มที่ ๕๘. อานุภาพพระปริตร [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๕๙. พุทธวิธีบริหาร
     เล่มที่ ๖๐. การเผยแผ่เชิงรุก
พ.ศ. ๒๕๕๐    
     เล่มที่ ๖๑. พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ
     เล่มที่ ๖๒. ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
     เล่มที่ ๖๓. สมาธิในชีวิตประจำวัน [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๖๔. ดวงตาเห็นธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๑    
     เล่มที่ ๖๕. ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง [คลิกอ่าน]       
     เล่มที่ ๖๖. กว่าจะมีวันนี้
     เล่มที่ ๖๗. พุทธวิธีครองรักครองเรือน (Dharma for Love and Marriage) [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๖๘. สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ
     เล่มที่ ๖๙. สาระนโยบายพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๒  
     เล่มที่ ๗๐. วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่
     เล่มที่ ๗๑. พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม : ความเหมือนที่แตกต่าง [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๗๒. พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งปัญญา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๕๓    
     เล่มที่ ๗๓. ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๗๔. หัวใจพระพุทธศาสนา (The Heart of the Buddhist Teaching) [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๗๕. ปัญญาต้องคู่กับกรุณาจึงจะพาชาติรอด [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๗๖. หนังสือเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นป.๑-ม.๖ (ประธานกรรมการจัดทำ)
พ.ศ. ๒๕๕๔    
     เล่มที่ ๗๗. ก้าวข้ามวิกฤตโดยเลือกตั้งให้สุจริตเที่ยงธรรม
     เล่มที่ ๗๘. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๕๕  
     เล่มที่ ๗๙. การศึกษาเพื่อสันติสุขของสังคมไทย
     เล่มที่ ๘๐. หลักการและวิธีการเทศน์ [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๕๖   
     เล่มที่ ๘๑. พระธรรมเทศนา ๕๗ กัณฑ์ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๘๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
                     กับการปฏิรูปการศึกษาพระพุทธศาสนา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๕๗
     เล่มที่ ๘๓. พระบรมธาตุมหาเจดีย์ กับรางวัลยูเนสโก
     เล่มที่ ๘๔. ธรรมราชา [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๘๕. ธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
พ.ศ. ๒๕๕๘
     เล่มที่ ๘๖. วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Vipassana Meditation)    
     เล่มที่ ๘๗. การปฏิรูปกิจการพระศาสนา
     เล่มที่ ๘๘. พระธรรมเทศนา ๖๑ กัณฑ์ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๘๙. ภาพชีวิต
     เล่มที่ ๙๐.  พระธรรมเทศนาในอเมริกา
     เล่มที่ ๙๑. สุชีพ ปุญญานุภาพ : คนดีศรีพระพุทธศาสนา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๕๙
    
เล่มที่ ๙๒. ศิลปะแห่งการเตือนตน ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๙ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๙๓. สุจริตธรรมกถา [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๙๔. หลักธรรมกับแนวคิดในการผลิตบัณฑิต [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๙๕. ปาปณิกธัมมกถา ธรรมะของนักบริหาร [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๐
    
เล่มที่ ๙๖. วิถีแห่งธรรมธรรมราชย์ ศาสตร์แห่งพระราชา [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๙๗. COMMON BUDDHIST TEXT : CBT [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๙๘. ศาสตร์พระราชา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๑
     เล่มที่ ๙๙. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
                   : พระอรรถกถาจารย์ร่วมสมัย [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๐.ธรรมจรณกถา ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๑.กุศโลบายในการเตรียมสอบบาลี [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๒.ทานผลกถา ว่าด้วยผลของทาน [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๓.สังคหวัตถุกถา ว่าด้วยการสงเคราะห์ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๔.สาธุนรธรรมกถา ว่าด้วยธรรมของคนดี [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๕.อนภินิเวสกถา ว่าด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่น [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๖.ธรรมดากถา ว่าด้วยธรรมดาของชีวิต [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๗.ทหรกถา ว่าด้วยการไม่ดูหมิ่นของเล็กน้อย [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๘.โกศลกถา ว่าด้วยความฉลาด [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๐๙.ปัญญาปริหารกถา ว่าด้วยการบริหารด้วยปัญญา [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๐.จิตอาสากับการพัฒนาที่ยั่งยืน [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๑.ธรรมกถาว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๒.สังคหวัตถุกถา ว่าด้วยวิธีการสงเคราะห์ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๓.วิสาสภยกถา ว่าด้วยภัยมาจากความไว้วางใจ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๔.ความรู้ควรเรียนทุกอย่าง [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๕.อัปปมาทกถา ว่าด้วยความไม่ประมาทในชีวิต [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๖.ธัมมัฏฐกถา ว่าด้วยผู้เที่ยงธรรม [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๗.บาลีศึกษาสืบต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๒
     เล่มที่ ๑๑๘.ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เล่มที่ ๑ [คลิกอ่าน]
     เล่มที่ ๑๑๙.ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เล่มที่ ๒ [คลิกอ่าน]
   
เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๓๗
     ๑.ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๙                
     ๒.ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๐               
      ๓.ได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์ 
พ.ศ. ๒๕๔๑
      ๔.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการศึกษา
          จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    
พ.ศ. ๒๕๔๔ 
      ๕.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา
          จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
พ.ศ. ๒๕๔๗   
      ๖. ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา 
          จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย           
      ๗.ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารองค์การ
          จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
พ.ศ. ๒๕๔๘        
      ๘.ได้รับรางวัลกิตติคุณ “เสมาคุณูปการ”
           จากกระทรวงศึกษาธิการ                  
      ๙.ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า    
     ๑๐.ได้รับพระราชทานรางวัล “ศาสตรเมธี” สาขาศึกษาศาสตร์ ด้านการบริหารการศึกษา 
           จากมูลนิธิศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล 
           ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
พ.ศ. ๒๕๔๙
    
๑๑. ได้รับโล่ยกย่องเป็นผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ
            ณ ห้องส่งใหญ่ สถานีโทรทัศน์โมเดร์นไนน์ทีวี
พ.ศ. ๒๕๕๐
     ๑๒.ได้รับสมณศักดิ์ ที่อัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ 
          จากคณะสงฆ์และรัฐบาล ประเทศเมียนพม่าร์
     ๑๓.ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
     ๑๔.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาภาษาอังกฤษ   
          จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ. ๒๕๕๑
     ๑๕.ได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์   
           จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
พ.ศ. ๒๕๕๒
     ๑๖.ได้รับพระบรมราชโองการโปรดแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา
     ๑๗.ได้รับโล่จากสภาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)
           ในฐานะเป็นผู้บรรยายในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรครบ ๑๐ ปี การศึกษา
     ๑๘.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาอังกฤษ
           จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
     ๑๙.ได้รับปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
           จากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล    
พ.ศ. ๒๕๕๓
     ๒๐.ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นนักจิตวิทยาดีเด่น สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
           จากสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๔
     ๒๑.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ (Humane Letters)   
           จากมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเวียดนาม
     ๒๒.ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 
           จากกระทรวงวัฒนธรรม
     ๒๓.ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ วัชรเกียรติคุณ 
           จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
     ๒๔.ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น 
           จากสมาคมสถาปนิกสยาม
พ.ศ. ๒๕๕๕
     ๒๕.ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา
           จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ.๒๕๕๖ 
     ๒๖.ได้รับรางวัลบุคคลคุณภาพแห่งปี
           จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (มสวท.)
     ๒๗.ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ ๑ (Award of Excellence)
           จากองค์การยูเนสโก ในการบูรณะพระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
     ๒๘.ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
           สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยบูรพา
พ.ศ.๒๕๕๗
    
๒๙..ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการดีเด่น
            สาขาวรรณกรรม (อ่าน เขียน พูด) จากกรมพลศึกษา เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗
พ.ศ.๒๕๕๘
     ๓๐.ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปกรรมดีเด่น
           จากสมาคมสถาปนิกสยาม ประเภทบุคคล
     ๓๑.ได้รับรางวัลจากนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้มีผลงานดีเด่น
           ด้านการป้องกันยาเสพติด จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกัน
           และปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
พ.ศ.๒๕๕๙
    
๓๒.ได้รับการถวายสมณศักดิ์ ชั้นอัคคมหาบัณฑิตเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุด
           ที่รัฐบาลเมียนม่าร์ถวาย ณ กรุงเนปิดอร์ สหภาพเมียนม่าร์ [คลิกอ่าน]
     ๓๓.ได้รับถวายรางวัลวิริยเมธีกิตติคุณ สาขามนุษยศาสตร์
           จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
           ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา โดยมูลนิธิ ดร. สุข พุคยาภรณ์ [คลิกอ่าน]     
     ๓๔.ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
           สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๐
     ๓๕.ได้รับการถวายรางวัล "เสาอโศกผู้นำศีลธรรม" จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
            พระวรราชาทินัดดามาตุ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม [คลิกอ่าน]
     ๓๖.ได้รับการถวายเครื่งราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีราชมิตราภรณ์ ชั้นมหาสิริวัฒน์ ซึ่งเป็นชั้นที่ ๑
           อันดับสูงสุด จากพระเจ้านโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยมีเจ้าชายฤทธิราวงศ์
           ศรีสุวัฒน์ เอกอัครราชทูตประจำสำนักพระราชวังกัมพูชาพร้อมคณะ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญ
           มาถวาย ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย
           พระนครศรีอยุธยา [คลิกอ่าน]
     ๓๗.ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์"สังข์เงิน" ประเภทบุคคล จากพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข
           องคมนตรี ในพิธีมอบรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์สังข์เงิน ครั้งที่ ๒๕ ประจำปี ๒๕๕๙
           จัดโดยสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
           แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ [คลิกอ่าน] 
พ.ศ. ๒๕๖๑
     ๓๘.ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
           จากมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี [คลิกอ่าน]
พ.ศ. ๒๕๖๒
    
๓๙. ได้รับรางวัลมหานาคาอะวอร์ดสาขาบุคคลต้นแบบดีเด่นประเภทมีผลงานระดับนานาชาติ
            จากหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม [คลิกอ่าน]
     ๔๐. ได้รับรางวัล Friendly Design Awards 2019 (อารยสถาปัตย์แห่งปี ๒๕๖๒)
            ที่มูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลมอบให้วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
            ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี [คลิกอ่าน]

        
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒
       ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์
 พ.ศ. ๒๕๓๙                   
       ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี 
       ตรีปิฎกบัณฑิต  มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี   
พ.ศ. ๒๕๔๓ 
       ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโสภณ 
       วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๘
       ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ 
       สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี   
พ.ศ. ๒๕๕๕         
       ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ ที่ พระพรหมบัณฑิต 
       สิทธิวรธรรมประยุต วิสุทธิศีลาจารนิวิฐ ไพศาลวิเทศศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร 
       บวรสังฆาราม คามวาสี 

ข้อมูลล่าสุด : - วันอาทิตย์ที่ ๑ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ [๑๓:๑๖ น.]
                     - คณะกรรมกรรมตรวจประวัติ
                       ประธาน   : พระพรหมบัณฑิต
                       กรรมการ : คณะสงฆ์วัดประยุรวงศาสวรวิหาร
                                        ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
                       ผู้จัดพิมพ์ : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
 


วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๒
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๒
>>>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคาร "สิริภักดีธรรม"
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๑ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ วิถีพุทธ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๑ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๑
>>>แถลงข่าวการจัดงานสงกรานต์ประจำปี ๒๕๖๑ Water Festival 2018
>>>๓ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชวัดประยูรฯ ๑๙๐ ปี
>>>เปิดงานสมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ อย่างอลังการ สืบสานวัฒนธรรมไทย
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส
>>>มส. มอบของยังชีพแก่ผู้ประสบอัคคีภัยชุมชนจอมทอง


ขณะนี้ 88 คน
วันนี้ 1,092 คน
เมื่อวานนี้ 1,931 คน
เดือนนี้ 34,383 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,622,622 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob